รายละเอียดสินค้า
หากท่านที่สะสมพระเครื่องสายจังหวัดนนทบุรีเห็นเหรียญรุ่นนี้ ผมเชื่อว่าทุกท่านก็จะต้องนึกออกทันทีว่าคือ'เหรียญพระพุทธชินราชหลวงพ่อคุ่ย วัดหญ้าไทรรุ่นแรกปีพ.ศ.2460' ซึ่งก็คงไม่ได้แปลกอะไรเพราะว่าชื่อนี้นั้นได้ถูกเรียกกันมานานหลายสิบปี และเซียนพระก็จะเรียกหรือได้รับการปลูกฝังกันต่อ ๆ มาแบบนั้น ว่าเหรียญรุ่นนี้คือเหรียญพระพุทธชินราชที่สร้างขึ้นโดยหลวงพ่อคุ่ย ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดหญ้าไทรในสมัยนั้น จนวันนึงผมได้มีโอกาสพบเจอหนังสือพระรุ่นเก่าเล่มหนึ่งซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2527 หนังสือเล่มนั้นพูดถึงประวัติของเหรียญพระพุทธชินราชของวัดหญ้าไทรไว้อย่างน่าสนใจ
หนังสือเล่มนั้นพูดถึงเหรียญพระพุทธชินราช วัดหญ้าไทรไว้ว่า'เหรียญพระพุทธชินราช พระครูธรรมโศภิต(เปลื้อง) วัดหญ้าไทร จ.นนทบุรี'และได้บรรยายต่อไปว่า หลายครั้งที่มีงานประกวดพระมักจะได้เห็นรายการประกวดเขียนชื่อหลวงพ่อผู้สร้างผิดกล่าวคือเหรียญพระพุทธชินราชปีพ.ศ.2460นี้มักจะเขียนว่าเหรียญพระพุทธชินราชหลวงพ่อคุ่ย วัดหญ้าไทรหลังยันต์ใบพัด แต่ความจริงแล้วเหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญของวัดหญ้าไทรถูกต้องแล้วแต่หลวงพ่อที่สร้างไม่ใช่หลวงพ่อคุ่ย แต่เป็นสมภารองค์ก่อนชื่อพระครูธรรมโสภิต(เปลื้อง)เป็นผู้จัดสร้าง ฉะนั้นจึงหวังว่าบุคคลที่มีเหรียญนี้คงจะได้รับความรู้กันอย่างถูกต้องจากหนังสือเล่มนี้
ในหนังสือทำเนียบเหรียญพระคณาจารย์ได้นำเสนอเหรียญพระอุปัชฌาย์คุยพ.ศ.2464 แต่ไม่ได้กล่าวถึงประวัติไว้ บางท่านได้มีจดหมายมาขอถามประวัติว่าท่านจะสร้างหรือเปล่า ก็เคยตอบไปแล้วแต่เพื่อเป็นความรู้ให้กับท่านจึงขอเสนอเรื่องราวย่อ ๆ ไว้ดังนี้
วัดหญ้าไทร ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดประชารังสรรค์ สมภารเก่าแก่ของวัดที่ค่อนข้างจะมีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่รู้จักกันดีคือพระอุปัชฌาย์มากปฐมนามสมภารย์องค์แรกของวัด องค์ต่อมาคือพระอุปัชฌาย์เอี่ยม สำหรับองค์ที่ 3 นั้นท่านเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงมาก คนเก่า ๆ ข้างวัดเล่าว่าท่านรู้การมรณะภาพ หลวงพ่อองค์ที่ว่านี้ก็คือพระครูธรรมโศภิต(เปลื้อง) ในราวปีพ.ศ.2460 ก่อนที่ท่านจะมรณะภาพท่านได้สร้าวัตถุมงคลเหรียญพระพุทธชินราชแจกศิษย์ จำนวนที่จัดสร้างครั้งนั้นราว 500 เหรียญโดยปกติแล้วท่านเป็นพระที่เคร่งในพระธรรมวินัย แม้ว่าศิษย์จะขออนุญาตจัดสร้างเหรียญรูปตัวท่านแต่ท่านไม่อนุญาต ต่อมาเห็นว่าใกล้จะมรณะภาพแน่จึงอนุญาตให้ศิษย์สร้างเหรียญพระพุทธชินราชรุ่นปีพ.ศ.2460 หลังจากนั้นไม่นานท่านก็มรณะภาพ สมภารองค์ต่อมาคือพระอุปัชฌาย์คุ่ย ท่านได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ก่อนมรณะภาพเพียงปีเดียวคือท่านมรณะภาพด้วยโรคมะเร็งกรามช้างเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2463 ดังนั้นหลวงพ่อชุ่ม อินทสโรผู้เป็นศิษย์จึงได้จัดสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อคุ่ยขึ้นเพื่อแจกในงานฌาปนกิจศพ.
?#อ้างอิ้งจากหนังสือทำเนียบเหรียญพระพุทธจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ29ธันวาคม2527? และยังเป็นหนังสือโล่เกียรติยศรางวัลชนะเลิศงานประกวดพระเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2529 จัดขึ้น ณ โรงเรียนสตรีนนทบุรี
สำหรับเหรียญพระพุทธชินราช วัดหญ้าไทรปีพ.ศ.2460นั้นขอให้ทุกท่านศึกษาและจำแบบพิมพ์ในรูปนี้ให้แม่น ?#ย้ำนะครับว่าจำแบบพิมพ์ให้แม่น? เพราะในราวปีพ.ศ.นั้นได้มีการสร้างเหรียญที่มีลักษณะเดียวกันกับของวัดหญ้าไทรขึ้นด้วยกันหลายที่ ผมเข้าใจว่าเหรียญรุ่นนี้น่าจะสร้างโรงงานเดียวกัน ในยุคนั้นถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็นร้าน'อัมราพรตึกดิน'เราจะสังเกตุได้ว่าเหรียญรุ่นนี้จะมีเค้าโครงองค์พระคล้ายกันกับเหรียญที่โด่งดังหลาย ๆ หลวงพ่ออาทิเช่นเหรียญหลวงพ่อโสธรรุ่นแรกปีพ.ศ.2460 เหรียญพระพุทธชินราชรุ่นแรกจังหวัดพิษณุโลกปีพ.ศ.2460หรือเหรียญพระพุทธวัดเกศไชโยปีพ.ศ.2461เป็นต้น ในยุคสมัยนั้นวิวัฒนาการในการจัดสร้างเหรียญพระไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องเตรียมการกันเป็นปี และที่สำคัญถ้าพระองค์นั้นไม่เก่งจริงลูกศิษย์ลูกหาไม่เยอะจริงผมว่าคงไม่ได้สร้างกันง่าย ๆ แน่นอน
คำค้นหา