• เปิดร้าน 11 มี.ค. 2559
  • ปรับปรุง 21 ต.ค. 2567
  • ผู้ชมทั้งหมด 29,705,180 คน
  • สินค้าทั้งหมด 12,902




13684 พระซุ้มทอง กรุวัดกลางทุ่ง อยุธยา เนื้อดิน (สภาพหักมุมบน) 13

ข้อมูลสินค้า

  • 13684
  • id line. suerpra.com
  • 098-5678242
  • สินค้าใหม่
  • 2,103 คน
  • 200.00 ฿
  • 12 เม.ย. 2562
  • 12 เม.ย. 2562 14:26:13
  • www.surepra.com

จำนวน





รายละเอียดสินค้า

ในปี พ.ศ.2450 พระเกจิผู้ทรงวิทยาคม แห่งทุ่งบ้านนา อำเภอมหาราช จ.อยุธยากรุงเก่า อันได้แก่ หลวงพ่อฉ่ำ หลวงพ่อแป้น หลวงพ่อทรัพย์ เกจิอาจารย์ร่วมยุคในสมัยนั้น เห็นพ้องต้องกันว่าจะสร้าง พระเครื่องบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์วัดกลางทุ่ง เช่นเดียวกับที่หลวงปู่ทรัพย์ได้สร้างพระเนื้อผงผสมแร่ บรรจุไว้ที่วัดใหม่ปากบาง หรือในภายหลังเรียกพระกรุวัดปากบางที่เราๆรู้จักกันนั่นเอง


กรุวัดกลางทุ่งอยุธยากรุวัดกลางทุ่งอยุธยา

หลวงพ่อฉ่ำ อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางทุ่งเป็นผู้สร้างพระกรุวัดกลางทุ่ง เมื่อประมาณ 100 ปีกว่า มีชื่อเสียงทางด้าน ตะกรุดโทน ได้ทำผงวิเศษ ลงสูตร สนธิ รูปนาม อักขระเลขยันต์ และพระเกจิอาจารย์ทั้งสามได้นำดินเหนียวกลางทุ่งนาบริเวณวัด มาคลุกเคล้าผสมผงพุทธคุณ เมื่อได้พระตามต้องการก็นำมาเข้าพิธีปลุกเสก จำนวนการสร้าง 84,000 องค์ ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา สร้างตามพระธรรมขันธ์ แล้วนำเข้าเตาเผา บรรจุพระในเจดีย์ที่วัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ทางวัดเปิดกรุพระวัดกลางทุ่งเพื่อ แจกจ่ายให้กับประชาชนชาวบ้านเป็นที่ระลึกในการร่วมแรงร่วมใจบูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมเสนาสนะ รวมทั้งองค์พระเจดีย์ด้วย ราคาเช่าบูชาในปัจจุบันยังไม่สูงมากนักอาจเนื่องจากจำนวนการสร้างหรือนักนิยมสะสมพระเครื่องในปัจจุบันแอบซุ่มเก็บเงียบๆ เลือกองค์สวยงาม มีธรรมชาติ รูปทรงคมชัด และปัจจุบันมีของปลอมระบาดออกมานานแล้ว ก็เพราะเนื่องมาจากพระราคาไม่สูงของปลอมเลยขายได้ง่าย คนไม่ค่อยระวังกันเพราะเห็นพระราคาไม่แพง ของปลอมไม่น่ามี แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

พระกรุวัดกลางทุ่ง เป็นพระเนื้อดินเผา ส่วนมากเนื้อหยาบ ส่วนเนื้อละเอียดมีเล็กน้อย พระกรุนี้มีน้อยองค์ที่มีความคมชัดสวยงาม การกดพิมพ์พระไม่ประณีต แต่ก็มีบางองค์ที่มีความงดงาม ซึ่งเกิดจากผู้กดพิมพ์ การสร้างพระพิมพ์ก็อาศัยแรงงานจากผู้ที่มีจิตเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ในองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า การสร้างพระพิมพ์ก็ทำกันอย่างง่ายๆ โดยอาศัยวัสดุอุปกรณ์ภายในท้องถิ่น เช่น ดินกลางทุ่งนารอบ ๆ บริเวณวัด แม่พิมพ์ก็อาศัยช่างพื้นบ้านแกะพิมพ์ลงในดินเผาแล้วเผาให้สุก หินหรือไม้สักแกะสลักเป็นแม่พิมพ์ แล้วแต่ความเหมาะสมแล้วจึงช่วยกันนวดดินให้เข้ากัน พร้อมทั้งผสมผงพุทธคุณลงไป ผงพุทธคุณก็ได้มาจากอาจารย์ที่มีความขลังในสมัยนั้น โดยเฉพาะพระอาจารย์ผู้เป็นแม่งานในการสร้างพระ หลังจากนั้นก็ช่วยกันกดพิมพ์ลงในแม่พิมพ์ ได้พระพิมพ์ออกมาก็ช่วยกันนำไปผึ่งลมตากแดดให้แห้ง แล้วจึงนำมาเข้าเตาเผา พอได้พระตามต้องการก็นำมาเข้าพิธีปลุกเสก เสร็จพิธีแล้วจึงนำพระพิมพ์บรรจุลงในเจดีย์ที่สร้างเตรียมไว้ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป

คำค้นหา



ชื่อผู้ถาม : *
เบอร์โทรศัพท์ ผู้ถาม : *
อีเมล์ ผู้ถาม : *
หัวข้อ : *
ข้อความ : *
คำถาม :
เปลี่ยนภาพ
คำตอบ : *